เมนู

วาระที่ 3 ชื่อว่า ปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระ คือ วาระ
ว่าด้วยการแสดงธรรมที่นับเนื่องกันและไม่นับเนื่องกัน ในกามธาตุเหล่านั้น
นั่นแหละ.
วาระที่ 4 ชื่อว่า วิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระ คือ
วาระว่าด้วยการแสดงธรรมอันมีและไม่มีอยู่ ในขณะแห่งความเกิดขึ้นในภูมิ
ทั้ง 3.
วาระที่ 5 ชื่อว่า ทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงธรรม
เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปในระหว่างภูมิ.
วาระที่ 6 ชื่อว่า อุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระ คือ วาระ
ว่าด้วยการแสดงประมาณแห่งอายุที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ในคติทั้งหลาย.
วาระที่ 7 ชื่อว่า อภิญเญยยาทิวาระ คือ วาระว่าด้วยธรรมที่พึง
รู้ยิ่งเป็นต้น.
วาระที่ 8 ชื่อว่า สารัมมณานารัมมณาทิวาระ คือ วาระว่าด้วย
สารัมมณธรรม และอนารัมมณธรรมเป็นต้น.
วาระที่ 9 ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมมีขันธ์เป็น
ต้นเหล่านั้นด้วยสามารถเเห่ง ทิฏฐะ และสุตะ เป็นต้น.
วาระที่ 10 ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้น
ด้วยสามารถแห่งติกมาติกามีกุศลติกะเป็นต้น.

อธิบายสัพพสังคาหิกวาระที่ 1


บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระที่หนึ่ง ชื่อว่า สัพพสังคาหิกวาระ
ก่อน โดยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ด้วยวาระทั้ง 10 อย่างนี้
คือ เมื่อตรัสมิได้ตรัสว่า ขันธ์หนึ่ง ฯลฯ หรือว่าขันธ์ 4 หรือว่าขันธ์ 6

(ขันธ์6 พวกเดียรถีย์บัญญัติขึ้น) แต่ตรัสถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย มีเท่าไรในความ
เป็นไปในระหว่างแห่งภูมิจำเดิมตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึง ภวัคคภูมิ คนอื่น
ชื่อว่า สามารถเพื่อจะกล่าวว่าขันธ์ 5 ดังนี้ มิได้มี เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงกำลังแห่ง
พระญาณของพระองค์ จึงตรัสคำวิสัชนาอันสมควรแก่คำถามว่า ปญฺจกฺขนฺธา
ดังนี้ ก็บัณฑิตย่อมเรียกคำวิสัชนาตามคำถามในพระกำลังแห่งญาณนี้ว่า ชื่อว่า
สัพพัญญพยากรณ์ ดังนี้. ในคำทั้งหลาย แม้มีคำว่า อายตนะ 12
เป็นต้นก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น
โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธ์วิภังค์เป็นต้น.

อธิบายอุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระที่ 2


ในวาระที่ 2

ธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วใน
กามธาตุในกามภพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายอันนับ
เนื่องกัน และไม่นับเนื่องกันในกามธาตุเหล่านั้นแล้ว ตรัสคำว่า กามธาตุยา
ปญฺจกฺขนฺธา
เป็นต้น. แม้ในรูปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็เพราะอายตนะ
ทั้งหลายมีคันธายตนะเป็นต้น ย่อมไม่ทำกิจแห่งอายตนะเป็นต้น เพราะความไม่
มีฆานายตนะเป็นต้น ของพรหมทั้งหลายผู้นับเนื่องในรูปธาตุ ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า รูปธาตุยา ฉ อายตนานิ นว ธาตุโย ดังนี้
เป็นต้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ธาตุที่ไม่นับเนื่องด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่า
ด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ ย่อมไม่มี เหตุใดเพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสคำว่า อปริยาปนฺนธาตุยา ดังนี้ เพื่อแสดงซึ่ง
ธาตุใด ๆ อันไม่นับเนื่องแล้วนั้น ๆ นั่นแหละ จึงตรัสว่า อปริยาปนฺเน
กติ ขนฺธา
เป็นต้น (แปลว่า ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่อง).